วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเพณีไทย

ประเพณีบุญบั้งไฟ
ช่วงเวลา      :       เดือนพฤษภาคม
ความสำคัญ 
            ชาวจังหวัดยโสธรร้อยละ 85 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
พิธีกรรม 
            บุญบั้งไฟ  หรือชาวบ้านชอบเรียกงาน บุญบั้งไฟ ว่าบุญเดือนหก จะเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาเทพยาดาอารักษ์หลักบ้านหลักเมือง เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล จะได้ทำให้พืชผลทางการเกษตร การทำไร ทำนาไดผลอุดมสมบูรณ์ และเพื่อบูชาพญาแถนผู้ให้ฝนตกอีกด้วย ซึ่งชาวบ้านคนไทยและ คนลาวมีความเชื่อว่าพญาแถนคือเทพเจ้าแห่งฝน การจุดบั้งไฟจึงเป็นการบูชาเทพเจ้าแห่งฝน บันดานให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  ตามความเชื่อมีเรื่องเล่าว่า  มีเทพนามว่า วัสสกาลเทพบุตร ประทับอยู่ ณ บนสวรรค์ซึ่งจะคอย ดูแลเรื่องน้ำฟ้า น้ำฝน ใครทำถูก ทำชอบ พระองค์ก็จะประทานน้ำฝนให้ ใครทำเรื่องที่ไม่ดี พระองค์ก็จะไม่ประทานน้ำฝนให้  และพระองค์ก็มีความ ชื่นชอบการบูชาด้วยไฟ จังเป็นเหตุให้คนไทยในภาคอีสาน มีการบูชาไฟด้วยการจุดบั้งไฟ จึงเป็นประเพณีที่ดีงามสืบทอด กันมารุ่นแล้ว รุ่นเล่าจนถึงทุกวันนี้
บั้งไฟ  เป็นการนำเอากัมมะถัน ประกอบด้วย ดินประสิวคั่วผสมกับถ่านตำให้ละเอียด แล้วจึงนำไปอัดแน่นในกระบอก



            งาน บุญบั้งไฟ ชาวบ้านจะทำการนัดหมายกัน โดยการทำบุญเลี้ยงพระเพล และประมาณ 3 โมงเย็นหรือ 15.00 น. โดยประมาณทางวัดก็จะตีกลองเป็นสัญญาณบอกให้ทุกคนได้รู้ว่างาน บุญบั้งไฟ ได้เริ่มแล้วให้นำบั้งไฟมารวมกันที่วัด แล้วเริ่มตั้งขบวนแห่โดยเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นขบวนแห่ แล้วชาวบ้านก็จะช่วยกันนำรถบรรทุกใส่บั้งไฟ แห่เป็นขบวนไปรอบเมือง ในขบวนแห่ก็จะมีการแต่งตัว การแสดงในท่าทางต่าง ๆ เป็นการสร้างสีสรรให้กับงานแล้วนำบั้งไฟกลับไปที่วัดที่จัดการแข่งขันบั้งไฟ  ซึ่งบั้งไฟก็มีการแบ่งตามขนาดที่กำหนดโดยทั่วไปนิยมทำกันอยู่ 3 ขนาดคือ บั้งไฟธรรมดา บรรจุดินปืนไม่เกิน 12 กิโลกรัม บั้งไปหมื่นบรรจุดินปืนเกิน 12 กิโลกรัม และบั้งไฟแสน บรรจุดินดินปืนถึงขนาด 120 กิโลกรัม ในความเชื่อถ้าบั้งไฟขึ้นสูงนั่นก็หมายความว่าฝนฟ้า ข้าวปลา อาหารก็จะอุดมสมบูรณ์ดี แต่ถ้าบั้งไฟแตกหรือไม่ขั้นก็หมายความ ว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูเป็นต้น
แหล่งที่มา

ประเพณีไทย บายศรีสู่ขวัญข้าว

ช่วงเวลา
ประเพณีไทยสู่ขวัญข้าว (ทั่วไป) บุญสู่ขวัญข้าว (หมู่บ้านเนินใหม่ ตำบลโคกกรวด) เรียกขวัญข้าว (หมู่บ้านท่าด่าน) กระทำในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓
ความสำคัญ
เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาขึ้นสู่ยุ้งฉาง บูชาพระแม่โพสพ ป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ทำลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตมากในปีต่อไป
                                                              

พิธีกรรม
โดยทั่วไปชาวนาต่างก็ทำพิธีโดยให้เจ้าของนาฝ่ายหญิงนุ่งขาว ห่มขาวเป็นผู้ทำพิธีตอนเช้าตรู่โดยเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ ข้าวต้ม เผือก มัน ไข่ ขันธ์ ๕ ขวดน้ำ แก้วแหวนเงินทอง แป้ง หวี กระจก ผ้าสไบ (อาจมีเพิ่มเติมหรือแตกต่างตามท้องถิ่น) นำสิ่งของเหล่านี้ห่อด้วยผ้าขาว ใส่กระบุงหรือบางท้องที่ปิดกระบุงด้วยผ้าขาว นำขอฉายคอนกระบุง (บางหมู่บ้านใช้ผ้าสีผูกให้สวยงาม) เดินไปตามท้องนา เจตนาของตน ร้องเรียกแม่โพสพ ใจความคือเชิญแม่โพสพที่ตกหล่นอยู่ให้มาอยู่ในยุ้ง ฉาง บางหมู่บ้าน เพื่อนบ้านขานรับจนถึงบ้าน นำกระบุงไปไว้ในยุ้งข้าว บางหมู่บ้านมีพราหมณ์ทำพิธีเรียกขวัญเข้ายุ้ง โดยมีการตั้งบายศรี และเครื่องไหว้ในยุ้ง การสู่ขวัญด้วยสำนวนหรือภาษาถิ่นที่แตกต่างกันออกไป
ในปัจจุบันประเพณีสู่ขวัญข้าวยังคงกระทำอยู่ในหมู่บ้านทั้งสี่อำเภอ เช่น หมู่บ้านหนองโพธิ์ ตำบลศรีนาวา สู่ขวัญข้าวร่วมกันและทำบุญเลี้ยงพระด้วย
สาระ

เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและความเชื่อของชาวนา รวมถึงการแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ เพื่อบันดาลให้ข้าวในปีหน้าได้ผลผลิตดียิ่งขึ้น
แหล่งที่มา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น